Support
Thai Coffin
082 7895391 080 4963926
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

ประเภทการจัดตั้งธรรมาสน์

วันที่: 2011-05-25 23:23:18.0

ภาพ ประเภทการจัดตั้งธรรมาสน์

งานเทศน์มหาชาติ เป็นเรื่องสำคัญต้องดูให้เหมาะสม แต่ละที่ก็จัดตั้ง ธรรมาสน์ เทศน์มหาชาติ ไม่เหมือนกัน นำมาให้ดูเป็นตัวอย่าง

  ๑. ใช้ธรรมาสน์ ๓  ชั้นไม้สัก งานฝังมุกแท้ ลายไทย สีดำ

 ๒.         ใช้ธรรมาสน์ ๓ ชั้นไม้เนื้อแข็ง งานปิดทอง ฝังกระจก ตัวเดียว

๓. ธรรมาสน์๓ชั้นปิดทองฝังกระจก ตั้งริม ๒ตัว คู่กับโต๊ะหมู่บูชาตรงกลาง

 ๔.ใช้ธรรมาสน์ ๒ ชั้นไม้สัก งานฝังมุกแท้ ลายไทย

 

๕.  ธรรมาสน์ ๒ ชั้น ทาสีทอง ร่องสีครีมไม่ฝังกระจก ตั้ง๒ตัวคู่

 

๖ .ธรรมาสน์ ๒ ชั้นไม้เนื้อแข็ง ฝังมุกแท้ ลายจีนรูปมังกร

               ๗.  ธรรมาสน์ ๒ ชั้น งานปิดทอง ฝังกระจกมีโต๊ะหมู่บูชาอยู่ด้านหน้า  

 

๘  .ธรรมาสน์ ๑ ชั้น ไม้สักแกะสลัก ลายไทย

 

๙.บุษบก

รูปแบบการจัดตั้ง ธรรมาสน์ เทศน์  โดยทั่วไปจะจัดตั้งในที่ที่เหมาะสมทั้งผู้ ฟังและพระเทศน์จะอยู่ไม่ไกลกันนัก  แต่โบราณมายึดรูปแบบของพระแท่นมนังคศิลาบาตรที่ดงตาล ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช แท่นที่นั่งจะต้องสูงกว่าผู้ฟัง  ผู้ฟังก็นั่งอยู่ด้านหน้าไม่ไกลนัก เรียกว่าพอได้ยินเสียงพระเทศน์ได้อย่างชัดเจน  จากพระแท่นมนังคศิลาบาตรก็พัฒนาขึ้นมาเป็นธรรมาสน์ซึ่งมีความสูงขึ้นกว่า เดิม  จากที่ประชาชนเคยนั่งอยู่ด้านหน้าอย่างเดียวตอนนี้ก็กลับมานั่งล้อมวงรอบ  ๆ ธรรมาสน์  เสียงของพระเทศน์ที่นั่งบน ธรรมาสน์ ซึ่งสูงกว่าคนฟังก็จะกระจายไปได้ไกลกว่า แต่เดิมที่นั่งบนแท่นหรือนั่งบนตั่ง ในปัจจุบันเมื่อประชาชนมากเข้าเทคโนโลยีก็สูงขึ้นจึงมีเครื่องขยายเสียงเข้า มาเกี่ยวข้องในเวลาที่พระเทศน์  แม้การจัด ธรรมาสน์ เทศน์ก็เปลี่ยนไปด้วย  คือ  ถ้าเทศน์ ธรรมาสน์ เดียวก็จัดอย่างหนึ่ง ถ้า  2-3  หรือ  6  ธรรมาสน์ ก็จัดกันอีกอย่างหนึ่ง ที่สำคัญต้องจัดตั้ง ธรรมาสน์  ให้  อยู่ในที่พอเหมาะ  คือ  ไม่ไกลคนฟังเทศน์มากไป  ที่ตั้ง ธรรมาสน์ ก็ต้องจัดแต่งให้ดูสวยงามตามความเหมาะสมของแต่ละท้องถิ่น 

       ประเภทการจัดตั้งธรรมาสน์  เทศน์นั้น  นิยมตั้ง ธรรมาสน์ บนอาสน์สูงเด่นเพื่อจะให้ผู้เข้าร่วมงานได้เห็นพระผู้เทศน์ ด้านหลัง ธรรมาสน์ ประดับด้วยกิ่งไทรซึ่งควรมีขนาดใหญ่พอสมควรเหมือนเป็นฉาก ถ้าจะให้สวยก็ต้องประดับกิ่งไทรนั้นด้วยดอกไม้ชนิดต่าง ๆ ที่ไม่เหี่ยวง่าย  ที่แต่งเช่นนี้เพราะในอรรถกถากล่าวไว้ว่า พระพุทธเจ้าทรงเทศนาเรื่องพระเวสสันดรนี้ที่นิโครธาราม (สวนไทร)  ฉะนั้น จึงเริ่มต้นด้วยการสร้างบรรยากาศของจุดที่เป็นศูนย์กลางของงานให้มีลักษณะ คล้ายสวนไทร เพื่อจะได้เกิดความรู้สึกว่ากำลังมาฟังธรรมะของพระพุทธเจ้า  ที่มุม ธรรมาสน์ ทั้งสองข้างซึ่งพระนั่งเทศน์ผูกประดับด้วยต้นกล้วย ต้นอ้อย ทำให้ดูเหมือนบรรณศาลาของพระเวสสันดรที่เขาวงกต  ถัดจาก ธรรมาสน์ ออกมาตั้งซุ้มไว้เป็นทางเข้าสู่บรรณศาลา ทั้งนี้ต้องไม่ให้รุงรังเพราะจะบังพระผู้เทศน์  บางครั้งเขาก็ตั้งซุ้มนี้ไว้ที่ปากประตูทางจะเข้าตัวศาลาธรรม

 ขอบคุณมากๆที่มาของภาพ และ ข้อมูล www.mahachat.com

เชิญสัมผัสของจริงได้ที่ร้านคงกระพันโลงเย็น